ปลาแห้งสตูลอันดามัน
ปลาแห้งสตูลอันดามัน
ปลาแห้งสตูลอันดามัน

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อิสลามหน้ารู้

เรื่องเตือนใจ คืนละเรื่อง อ่านให้ลูกฟังก่อนนอน &&

*** คืนที่ 5 : เรื่อง ความยากลำบากของค็อบบาบ ******

…ค็อบบาบ เป็นศอหาบะฮฺคนหนึ่งของท่านนบี เขาเป็นบุคคลที่หกหรือที่เจ็ดที่ได้เข้ารับอิสลาม เขาถูกพวกกุเรชทำร้ายร่างกายอยู่เป็นเวลานานมาก

...เขาถูกจับให้สวมเสื้อเกราะที่ทำด้วยเหล็ก

...ถูกจับไปนอนตากแดดให้เหงื่อไหลโทรมกาย

...ถูกจับให้นอนราบกับพื้นทรายที่ร้อนระอุ

...ด้วยเหตุนี้เนื้อแผ่นหลังของเขาจึงเสียไป เป็นทาสของผู้หญิงนางหนึ่ง เมื่อนางรู้ว่าเขาจะไปพบท่านศาสดา นางจึงเอาแท่งเหล็กที่ร้อนฉ่านาบเข้าที่ศีรษะ

...ครั้งหนึ่งท่านอุมัรฺเคยขอให้ค็อบบาบเปิดแผ่นหลังดู ท่านอุมัรฺถึงกับอุท่านออกมาว่า “ฉันไม่เคยเห็นแผ่นหลังของใครเป็นเช่นนี้มาก่อนเลย”

...ค็อบบาบจึงเล่าให้อุมัรฺฟังว่า “ร่างกายของฉันนั้น ถูกลากไปบนกองถ่านที่ร้อนแดงฉาน ทำให้เลือดและไขมันทะลักออกมาจากแผ่นหลัง จนทำให้ไฟดับ”

...ต่อมาเมื่ออิสลามแผ่ขยายและมุสลิมได้ปกครองดินแดนโดยรอบแล้ว ท่านค็อบบาบเคยร้องไห้และกล่าวว่า

...”ดูเหมือนว่า อัลลอฮฺจะทรงตอบแทนฉันแล้วในโลกนี้ จากความทุกข์ทรมานของฉัน ฉันเกรงว่าในโลกหน้าฉันอาจไม่ได้อะไรอีกเลย

...เขาเสียชีวิตเมื่ออายุ 37 ปีเท่านั้น.....

& จงดูเถิดลูกรัก ถึงการเสียสละความสุขสบายตัว เพื่อพิท้กษ์รักษาศาสนาของค็อบบาบ บิน อัลอะร็อต ท่านได้ถูกลงโทษทรมานอย่างหนัก แต่ท่านก็อดทนแล้วในที่สุดชัยชนะก็เป็นของอิสลาม

...แม้กระนั้นท่านค็อบบาบ ยังไม่สบายใจอีก เกรงว่าผลบุญที่เขาต่อสู้เพื่อศาสนาจะถูกตอบแทนเสียบบนโลกนี้ ด้วยการให้อิสลามชนะ
...นี่คือแบบอย่างของเรา
...นี่คือแบบอย่างของผู้ศรัทธา
..........โอ้ลูกรัก.........
************************
(เก็บมาเล่าโดย : อาจารย์มันศูร อับดุลลอฮฺ)

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แนะนำปลาแห้ง

สินค้า OTOP

                                                 
                                                   
                                                   
สินค้า OTOP กุ้งแก้ว

เที่ยวสตูล



ประวัติความเป็นมาของจังหวัดสตูล article ประวัติความเป็นมาของจังหวัดสตูลในสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา และในสมัยกรุงศรีอยุธยาไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวไว้ ณ ที่ใด สันนิษฐานว่าในสมัยนั้น ไม่มีเมืองสตูล คงมีแต่หมู่บ้านเล็ก ๆ กระจัดกระจายอยู่ตามที่ราบชายฝั่งทะเล ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สตูลเป็นเพียงตำบลหนึ่งอยู่ในเขตเมืองไทรบุรี ฉะนั้นประวัติความเป็นมาของจังหวัดสตูล จึงเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของเมืองไทรบุรี ดังปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ ว่า "ตามเนื้อความที่ปรากฏดังกล่าวมาแล้ว ทำให้เห็นว่าในเวลานั้น พวกเมืองไทรเห็นจะแตกแยกกันเป็นสองพวก คือ พวกเจ้าพระยาไทรปะแงรันพวกหนึ่ง และพวกพระยาอภัยนุราชคงจะนบน้อมฝากตัวกับเมืองนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะเมื่อพระยาอภัยนุราชได้มาเป็นผู้ว่าราชการเมืองสตูล ซึ่งเขตแดนติดต่อกับเมืองนครศรีธรรมราช พวกเมืองสตูลคงจะมาฟังบังคับบัญชาสนิทสนมข้างเมืองนครศรีธรรมราชมากกว่าเมืองไทร แต่พระยาอภัยนุราชว่าราชการเมืองสตูลได้เพียง ๒ ปี ก็ถึงแก่อนิจกรรม ผู้ใดจะได้ว่าราชการเมืองสตูล ต่อมาในชั้นนั้นหาพบจดหมายเหตุไม่ แต่พิเคราะห์ความตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลัง เข้าใจว่าเชื้อพระวงศ์ของพระอภัยนุราช (ปัศนู) คงจะได้ว่าราชการเมืองสตูลและฟังบังคับบัญชาสนิทสนมกับเมืองนครศรีธรรมราชอย่างครั้งพระยาอภัยนุราชหรือยิ่งกว่านั้น" เรื่องเกี่ยวกับเมืองสตูลยังปรากฏในหนังสือพงศาวดารเมืองสงขลา แต่ข้อความที่ปรากฏบางตอนเกี่ยวกับชื่อผู้ว่าราชการเมืองสตูล ไม่ตรงกับพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ประวัติเกี่ยวกับเมืองสตูลในการจัดรูปแบบการปกครองเมือง ตามระบอบมณฑลเทศาภิบาลว่า ในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รักษาเมืองไทรบรี เมืองเปอร์ลิส และเมืองสตูลเป็นมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า "มณฑลไทรบุรี" โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาไทรบุรีรามภักดี เจ้าพระยาไทรบุรี (อับดุลฮามิต) เป็นข้าราชการเทศาภิบาลมณฑลไทรบุรี เมืองสตูลได้แยกจากเมืองไทรบุรีอย่างเด็ดขาด ตามหนังสือสัญญาไทยกับอังกฤษเรื่องปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับสหพันธรัฐมาลายู ซึ่งลงนามกันที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ร.ศ.๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๒) จากหนังสือสัญญานี้ยังผลให้ไทรบุรีและปลิสตกเป็นของอังกฤษ ส่วนสตูลคงเป็นของไทยสืบมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อปักปันเขตแดนเสร็จแล้ว ได้มีพระราชโองการโปรดให้เมืองสตูลเป็นเมืองจัตวารวมอยู่ในมณฑลภูเก็ต เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ร.ศ.๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๕๓) ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย เมืองสตูลก็มีฐานะยกเป็นจังหวัดหนึ่งอยู่ในราชอาณาจักรไทยสืบต่อมาจนถึงกระทั่งทุกวันนี้ คำว่า"สตูล" มาจากคำภาษามาลายูว่า "สโตย" แปลว่ากระท้อน อันเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ชุกชุมในท้องที่เมืองนี้ ซึ่งต่อมาได้รับการตั้งสมญานามเป็นภาษามาลายูว่า "นครสโตยมำบังสการา (Negeri Setoi Mumbang Segara) " หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า สตูล เมืองแห่งพระสมุทรเทวา ดังนั้น "ตราพระสมุทรเทวา" จึงกลายเป็นตราหรือสัญลักษณ์ของจังหวัดมาตราบเท่าทุกวันนี้ จังหวัดสตูล แม้จะอยู่รวมกับไทรบุรีในระยะเริ่มแรกก็ตาม แต่จังหวัดสตูลก็เป็นจังหวัดที่มีดินแดนรวมอยู่ในประเทศไทยตลอดมา ระยะแรก ๆ จังหวัดสตูล แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๒ อำเภอ กับ ๑ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอมำบัง อำเภอทุ่งหว้า และกิ่งอำเภอละงู ซึ่งอยู่ในการปกครองของอำเภอทุ่งหว้า ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอมำบังเป็นอำเภอเมืองสตูล สำหรับอำเภอทุ่งหว้า ซึ่งในสมัยก่อนนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก มีเรือกลไฟจากต่างประเทศติดต่อ ไปมาค้าขายและรับส่งสินค้าเป็นประจำ สินค้าสำคัญของอำเภอทุ่งหว้า คือ "พริกไทย" เป็นที่รู้จักเรียกตามกันในหมู่ชาวต่างประเทศว่า"อำเภอสุไหวอุเป " ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๗ การปลูกพริกไทยของอำเภอทุ่งหว้าได้ลดปริมาณลง ชาวต่างประเทศที่เข้ามาทำการค้าขายต่างพากันอพยพกลับไปยังต่างประเทศ ราษฎรในท้องที่ก็พากันอพยพไปหาทำเลทำมาหากินในท้องที่อื่นกันมากโดยเฉพาะได้ย้ายไปตั้งหลักแหล่งที่กิ่งอำเภอละงูมากขึ้น ทำให้ท้องที่กิ่งอำเภอละงูเจริญขึ้นอย่างรวมเร็ว และในทางกลับกัน ทำให้อำเภอทุ่งหว้าซบเซาลง ครั้งถึง พ.ศ. ๒๔๗๓ ทางราชการพิจารณาเห็นว่ากิ่งอำเภอละงูเจริญขึ้น มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นกว่าอำเภอทุ่งหว้า จึงได้ประกาศยกฐานกิ่งอำเภอละงูเป็นอำเภอ เรียกว่า อำเภอละงู และยุบอำเภอทุ่งหว้าเดิมเป็นกิ่งอำเภอทุ่งหว้า เรียกว่า กิ่งอำเภอทุ่งหว้า ขึ้นอยู่ในการปกครองของอำเภอละงู ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ กิ่งอำเภอทุ่งหว้าจึงได้รับสถานะเดิมกลับคืนมาเป็นอำเภอทุ่งหว้า ปัจจุบันจังหวัดสตูล แบ่งการปกครองออกเป็น ๗ อำเภอ คือ ๑. อำเภอเมืองสตูล ๒. อำเภอละงู ๓. อำเภอควนกาหลง ๔. อำเภอทุ่งหว้า ๕. อำเภอควนโดน ๖. อำเภอท่าแพ ๗. อำเภอมะนัง

ประวัติความเป็นมาของบ้านหาดทรายยาว




หาดทรายยาว อยู่ในอ.เมือง จ.สตูล หากเข้ามาในจ.สตูลแล้ว ให้ขับรถเส้นทางไปท่าเรือเจ๊ะบิลัง แล้วจะพบป้ายบอกทางไปหาดทรายยาวอยู่ด้านซ้ายมือ ใช้ระยะทางจากป้ายขับไปประมาณ 10 กม.
        ความสวยงามของหาดทรายยาว สวยแตกต่างจากหาดทรายที่อื่น มีหินประดับชายหาดตลอดและมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นขนานไปกับชายหาดยาว อยู่ใต้ร่มหูกวางแล้วร่มดีจริงๆที่สะดุดตามาก คือเปลือกหอยที่ยังสมบูรณ์ ลอยมาติดหาดทราย มีเปลือกหอยที่สวยงามและสมบูรณ์มากที่สุดเปลือกหอยอยู่บนหาดทราย ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกไว้ ถ้าเป็นเรือ
        แหลมตันหยงโปและหาดทรายยาว ตั้งอยู่ทางปากอ่าวสตูล ลักษณะเป็นแหลมที่ยื่นล้ำไปในทะเลอันดามัน เป็นพื้นที่หมู่บ้านชาวประมง ชายหาดเต็มไปบ้านเรือนชาวบ้าน จะพบเห็นสภาพชีวิตความเป็นอยู่โดยทั่วไปของชาวประมงและการตากของทะเลริมหาด การเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 4051 (เส้นทางไปท่าเรือเจ๊ะบิลัง) ประมาณ 8 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายไปยังบ้านตันหยงโปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร หรือนั่งเรือจากด่านศุลกากรเกาะนกหรือท่าเรือหลังตลาดสดสตูล ประมาณ 1 ชั่วโมง

ความเป็นมา



ความเป็นมาของปลาตากแห้ง

การถนอมอาหารโดยวิธีตากแห้ง เป็นกระบวนการลดน้ำ หนักของอาหารทำให้อาหารมีน้ำหนักเบาขึ้น โดยใช้ตัวกลางทำหน้าที่ถ่ายเท ความร้อนจากบรรยากาศไปสู่อาหารที่มีความชื้นอยู่โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง แล้วรับ ความชื้นจากอาหารระเหยไปสู่บรรยากาศภายนอกอาหาร ทำให้อาหารมี ความชื้นลดลงไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดแห้งเป็นอาหารแห้ง โดยทั่ว ๆ ไปอากาศ จะมีบทบาทสำคัญ ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายเทความร้อนและความ ชื้นดังกล่าว หลักเกณฑ์การถนอมอาหารตากแห้งคือ จะต้องลด ยับยั้ง และป้องกันปฏิกิริยาทางเคมีทั้งหลายและการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ทุกชนิด เพื่อให้ได้อาหารตากแห้งที่เก็บได้นาน ไม่บูดเน่าเพราะการเจริญเติบโตของ จุลินทรีย์ หรือไม่มีสารเคมีตกค้างเนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างกรรมวิธี เตรียมการผลิต หรือระหว่างการเก็บ เช่น ผักหรือผลไม้ต้องลวกน้ำร้อนก่อน นำไปตากแห้ง เพื่อหยุดปฏิกิริยาเอนไซม์และลดปริมาณแบคทีเรียที่มีอยู่ เป็นต้น




วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เที่ยวหาดทรายยาว